ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

1. ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เอกลักษณ์  อัตลักษณ์  และยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา

           ปรัชญา

               วิชาการดี     ฝีมือเยี่ยม     เปี่ยมคุณธรรม     นำพัฒนา

           วิสัยทัศน์

               วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนตามมาตรฐานอาชีวศึกษา

           พันธกิจ 

               มุ่งมั่นผลิตช่างฝีมือ  ช่างเทคนิค  นักเทคโนโลยี  ที่มีคุณธรรมและคุณภาพ

           เอกลักษณ์

               เป็นเลิศด้านวิชาชีพ  ช่างอุตสาหกรรม

           อัตลักษณ์

               ฝีมือเยี่ยม  เปี่ยมคุณธรรม

ยุทธศาสตร์

  1. ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  2. ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  3. ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา
  4. ด้านการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

          ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                   วัตถุประสงค์

  1.   เพื่อรับผู้เรียนเข้าศึกษาต่อสายอาชีพ ระดับ ปวช. , ปวส. และระดับปริญญาตรี
  2.   เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม
  3.   เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะด้านวิชาชีพ
  4.   เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประกอบอาชีพและศึกษาต่อได้

                   กลยุทธ์

  1.          
  2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน
  3.   ส่งเสริมการวิจัยเพื่อการศึกษา
  4.   ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ ในการจัดการเรียนการสอน

                   วัตถุประสงค์

                             1.  เพื่อพัฒนาครูละบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้

                             2.  เพื่อพัฒนาครูละบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และความสามารถในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

                             3.  เพื่อพัฒนาครูละบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตนอยู่ในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ

                   กลยุทธ์

                             1.  ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ตรงตามแผนก

                             2. ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และความสามารถในการจัดทำผลงานทางวิชาการ

                             3.  ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตนอยู่ในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

          ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา

                   วัตถุประสงค์

                 จัดหาแหล่งสถานประกอบการให้นักศึกษาฝึกงาน

                   กลยุทธ์

                               เพิ่มปริมาณ สถานประกอบการภาครัฐและเอกชน ปีละ 5 แห่ง ตารางแสดงจำนวนสถานประกอบการ โดยใช้ฐานข้อมูล ปี 2559

ปี

สถานประกอบการ

งบประมาณ

หมายเหตุ

2559

2560

2561

2562

2563

2564

30

35

40

45

50

55

-

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

-

-

-

-

-

-

 

         

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

                   วัตถุประสงค์

                        เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและยึดหลักธรรมาภิบาล

                   กลยุทธ์

  1.   ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูล
  2.   ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  3.   ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                              4.  จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อ เพื่อตอบสนองต่อการจัดการเรียนการสอน และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเพียงพอ

                       5.  จัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

2. จุดเน้นในการพัฒนาสถานศึกษา  และความโดดเด่น

           2.1 จุดที่ต้องพัฒนาของสถานศึกษา

               2.1.1  จำนวนของผู้ออกกลางคันควรให้ลดจำนวนลงโดยเฉพาะสาขางานเทคนิคยานยนต์

               2.1.2  ผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ เกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพให้มีความชัดเจนในแต่ละระดับ และให้มีเกณฑ์การประเมินทฤษฎี และปฏิบัติแล้วต้องให้ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด

               2.1.3  ผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา
(V-Net)  ระดับ ปวช. และระดับ ปวส. อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

               2.1.4  ผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา
(V-Net)  ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษระดับ ปวช. และระดับ ปวส. อยู่ในระดับ พอใช้

               2.1.5  การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสถานประกอบการ หน่วยงาน สถานที่ประกอบอาชีพและสถานศึกษาที่เข้าศึกษาต่อให้ชัดเจน

                   2.1.6  ความพึงพอใจของสถานประกอบการ ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างควรให้มีความหลากหลายและครบทุกกลุ่ม

วิชาที่เปิดสอน

          ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.)

                   1.  สาขางานยานยนต์

                   2.  สาขางานเครื่องมือกล

                   3.  สาขางานเชื่อมโลหะ

                   4.  สาขางานไฟฟ้ากำลัง

                   5.  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

                   6.  สาขางานก่อสร้าง

                   7.  สาขางานสำรวจ

                   8.  สาขางานโยธา

                   9.  สาขางานแม่พิมพ์โลหะ

                   10. สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์

                   11. สาขางานตัวถังและสีรถยนต์

                   12. สาขางานจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กอเนกประสงค์

                   13. สาขางานเมคคาทรอนิกส์

                   14. สาขาวิชาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

          ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)

                   1.  สาขางานเทคนิคยานยนต์

                   2.  สาขางานเครื่องมือกล

                   3.  สาขางานแม่พิมพ์โลหะ

                   4.  สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก

                   5.  สาขางานเทคนิคการเชื่อมอุตสาหกรรม

                   6.  สาขางานติดตั้งไฟฟ้า

                   7.  สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

                   8.  สาขางานเทคนิคก่อสร้าง

                   9. สาขางานสำรวจ

                   10. สาขางานโยธา

                   11. สาขางานคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

                   12. สาขางานระบบเครือข่ายและสารสนเทศ

                   13. สาขาวิชาเทคนิคขึ้นรูปพลาสติก

                   14. สาขาวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

                   15. สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

          ระดับปริญญาตรี 

                   1. สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า (ต่อเนื่อง)

                   2. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)

                             3. สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (ต่อเนื่อง)

       วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  มีพื้นที่ประมาณ  37  ไร่  ตั้งอยู่  ณ  เลขที่  346 ถนนหลักเมือง  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  32000  โทรศัพท์  0-4451-1190 
โทรสาร  0-4451-3790  ระยะห่างจากกรุงเทพฯ  455  กิโลเมตร 

           วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์  มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้   

                   ทิศเหนือ      ติดเขตโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์

                   ทิศตะวันออก ติดเขตโรงพยาบาลสุรินทร์

                   ทิศตะวันตก  ติดเขตโรงเรียนสุรวิทยาคาร

                   ทิศใต้         ติดเขตถนนหลักเมือง 

           มีอาคาร  รวมทั้งสิ้น   8  รายการ  ดังนี้

                   1.  อาคารเรียน  3  ชั้น  ขนาด  9  ห้อง  1  หลัง

                   2.  อาคารเรียน  4  ชั้น  ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า  1,920  ตาราเมตร  1  หลัง

                   3.  อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4ชั้น ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า  1,920 ตาราเมตร  1 หลัง

                   4.  อาคารโรงอาหาร – ห้องประชุม  พื้นที่ไม่ต่ำกว่า  4,000  ตารางเมตร      1 หลัง

                   5.  อาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตารางเมตร 1 หลัง

                   6.  อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตารางเมตร 1 หลัง

                   7.  อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,920 ตารางเมตร 1 หลัง

                   8.  อาคารโรงฝึกงาน  จำนวน  3  หลัง

                   9.  อาคารแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

                   10.  ตึกวิทยบริการและห้องสมุด

วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

ที่อยู่ 346 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง

อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

โทร 044-511190

E-Mail : surintech10@gmail.com

แผนที่วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

สถิติผู้เยี่ยมชม

วันนี้ 22

เมื่อวานนี้ 175

อาทิตย์นี้ 600

เดือนนี้ 2472

ทั้งหมด 1343311

Currently are 2 guests and no members online

Kubik-Rubik Joomla! Extensions

Publish the Menu module to "offcanvas" position. Here you can publish other modules as well.
Learn More.